โรคภัยไข้เจ็บ ตอนที่ 51 – การทรงตัวและความยืดหยุ่น (1)

สิ่งนี้มีความสำคัญ เพราะไขมันบริเวณหน้าท้อง (Abdominal fat) ยังทำให้ไขมันครอบคลุม (Envelop) อวัยวะภายในช่องท้อง ซึ่งนำไปสู่ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของความดันโลหิต (Hyper-tension), คอเลสเตอรอล (Cholesterol), และเบาหวาน (Diabetes) การออกกำลังกายด้วยการใช้แรงต้านทาน (Resistance) ดูเหมาะกว่าในการพุ่งเป้าหมาย (Targeting) ไปที่ในไขมันบริเวณหน้าท้องนี้

การออกกำลังกายดังกล่าวเพียง 2 วันต่อสัปดาห์ (เป็นเวลา 16 สัปดาห์) ได้พบว่ามีประสิทธิผล (Effective) ในการใช้อินซูลิน (Insulin) ของร่างกายเพิ่มขึ้นถึง 46% โดยลดระดับน้ำตาลในเลือด การวิจัยยังแสดงให้เห็นว่าการออกกำลังกายด้วยการใช้แรงต้านทานอาจลดความดันโลหิตลงอย่างมีนัยสำคัญ

ความสำคัญอีกประการหนึ่งคือประโยชน์ (Benefit) ที่ได้มากจากการฝึกฝนเพื่อเสริมสร้างสุขภาพกระดูก (Bone health) สำหรับการรักษา (Preservation) ความหนาแน่นของกระดูก (Bone density) การฝึกฝนเพียง 2 ถึง 3 วันต่อสัปดาห์ (เป็นเวลาหนึ่งปี) สามารถรักษา (Maintain) หรือเพิ่มความหนาแน่นของกระดูกในพื้นที่หลังส่วนล่าง และสะโพกของผู้หญิงหลังหมดประจำเดือน (Post-menopausal) ได้

สิ่งนี้มีความสำคัญ เพราะมากกว่า 300,000 คน ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ในสหรัฐอเมริกา ต้องไปนอนโรงพยาบาล (Hospitalized) ทุกปีเนื่องจากการหักสะโพก (Hip fracture) โดยส่วนใหญ่ (75%) เป็นผู้หญิง การฝึกฝนด้วยแรงต้านทานเป็นวิธีที่ง่ายและคุ้มค่า (Cost-effective) นอกจากนี้ยังสามารถลดภาระ (Burden lessening) ของการหักสะโพกและการพึ่งพา (Dependency) ผู้อื่นที่เกิดขึ้นในบางครั้ง

ด้านอื่นๆ ที่มีความสำคัญเมื่อพูดถึงการออกกำลังกาย ได้แก่การทรงตัว (Balance) และความยืดหยุ่น (Flexibility) การทรงตัวก็เหมือนกับความแข็งแรง (Strength) เป็นส่วนสำคัญ (Essential) ของชีวิตประจำวันที่ถูกละเลยไป (Take it for granted) จนถึงวัยชราที่เริ่มเปิดเผย (Expose) ตัวตนขึ้น

สิ่งที่มาพร้อมกับการเพิ่มอายุขึ้น คือการทรงตัวที่เริ่มจะเสื่อมเสีย (Impair) และการหกล้ม (Fall) ก็เริ่มบ่อยขึ้น (Common) จากจำนวนกระดูกหักสะโพกทั้งหมดที่กล่าวถึงก่อนหน้านี้ 95% เกิดจากการหกล้ม ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ (Major concern) ในผู้สูงอายุ (Elderly)

ทุกปีๆ ห้องฉุกเฉิน (Emergency) ต้องรักษาผู้สูงอายุ 3 ล้านคนในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากบาดเจ็บ (Injury) ที่เกิดจากการหกล้ม และมีมากกว่า 800,000 คนต้องเข้านอนโรงพยาบาล การหกล้มยังเป็นสาเหตุหลักของการบาดเจ็บสาหัส (Trauma) ในผู้สูงอายุ และเป็นปัจจัยเสี่ยงของเลือดออกในสมอง (Brain bleed) โดยเฉพาะเมื่อผู้ป่วยต้องกินยาละลายลิ่มเลือด (Blood thinness) ด้วยเงื่อนไข (Condition) สุขภาพอื่น 

แหล่งข้อมูล – 

  1. Ramirez, Lucas, MD. (2022.o Simplify Your Health: A Doctor’s Practical Guide to a Healthier Life. Texas, USA: Black Rose Writing.
  2. สันต์ ใจยอดศิลป์, นพ. (2560). สุขภาพดีด้วยตัวคุณเอง: Good Health by Yourself (eBook). พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.